บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.
ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)
วันนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับเด็กปฐมวัย
เพื่อนที่ออกมานำเสนอสรุปงานวิจัยออกมาได้ดังนี้
วิจัยเรื่องที่ 1
เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย
ณัฐดา สาครเจริญ
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนหลังการจัดกิจกรรมและเพื่อศึกษาระดับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต
การจำแนก การลงความเห็น การสื่อความหมาย
การหามิติสัมพันธ์
เครื่องมือที่ใช้ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยจะมีศิลปะถ่ายโอน
ศิลปะปรับภาพ ศิลปะค้นหา ศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ
วิจัยเรื่องที่ 2 เรื่องผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย
พีรภัทร
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การหามิติสัมพันธ์การมองเห็น/เข้าใจความสัมพันธ์ของวัตถุ
เครื่องมือที่ใช้ แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึกและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
วิจัยเรื่องที่3 เรื่องผลของการจัดประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
ผู้วิจัย
เสาวภาคย์
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การจำแนก
จัดกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์ เปรียบเทียบความเหมือนต่าง
เครื่องมือที่ใช้ แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก
วิจัยเรื่องที่ 4
เรื่องผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย
อัจฉราภรณ์ เชื้อกลาง
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อน-หลังการทำกิจกรรม
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ
การแสดงปริมาณ การสื่อความหมาย การลงความเห็น การหามิติสัมพันธ์
เครื่องมือที่ใช้ แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และแผนการจัดประสบการณ์เล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อที่ทำเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
และ ได้จำแนกของเล่นวิทยาศาสตร์ออกเป็นกลุ่มๆดังนี้
สื่อที่เกิดจุดศูนย์ถ่วง
สื่อที่เกิดเสียง
สื่อที่เกิดจากการใช้แรงดันลมหรืออากาศ
สื่อที่ใช้ในการจัดมุมประสบการณ์วิทยาศาสตร์
สื่อที่ใช้พลังงานหรือการเกิดแรง
จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ทำกิจกรรม
Cooking
โดยให้นักศึกษาทำ “วาฟเฟิล”
อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาและแนะนำอุปกรณ์แต่ละอย่างจากนั้นบอกวิธีการทำแล้วให้นักศึกษาแยกออกเป็นกลุ่มแล้วเริ่มทำกิจกรรม การทำ
วาฟเฟิล
อุปกรณ์ทั้งหมด
แบ่งอุปกรณ์ให้แต่ละกลุ่ม
อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน
ขั้นตอนการทำ
1. ตีไข่1ฟองให้เข้ากัน
2. เทแป้งและเนยลงไปจากนั้นก็ตีให้เข้ากัน
3. เทน้ำเติมลงไปประมาณครึ่งแก้วแล้วตีทุกอย่างให้เข้ากัน แล้วตักใส่ถ้วยขนาดเล็ก
4. ตักใส่ถ้วยขนาดเล็กเพื่อนำไปเทใส่เครื่องทำวาฟเฟิล
5. เทใส่เครื่องทำวาฟเฟิลจนหมดถ้วยแล้วรอจนสุข
6. เมื่อสุขแล้วก็ตักออกจากเครื่อง
ก็จะได้วาฟเฟิลที่น่ากินแบบนี้คะ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)
- สามารถนำความรู้ในการทำกิจกรรมการทำวาฟเฟิลไปสอนเด็กให้ทำในอนาคตได้
- สามารถนำเทคนิคการจัดกิจกรรมวันนี้ไปจัดให้เหมาะสมกับเด็กได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำของเล่นวิทยาศาสตร์ไปให้เด็กเล่นให้เขารู้จักการสังเกตหรือมีทักษะวิทยาศาสตร์
การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): เข้าเรียนสาย5นาที แต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจเรียนและฟังในสิ่งที่เพื่อนออกมานำเสนอและ ให้ความร่วมมือในการทำวาฟเฟิลเป็นกลุ่มออกมาน่ากินมากและส่งงานตามที่กำหนด
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาแต่ก็ยังมีคนมาสาย ทุกคนแต่งกายเรียบร้อย
และตั้งใจฟังเพื่อนออกไปนำเนองานวิจัย เพื่อนทุกกลุ่มตั้งใจทำวาฟเฟิลกันทุกกลุ่มและน่ากิน
บางกลุ่มทำบาง บางกลุ่มทำหนาแต่ก็ดูน่ากินเหมือนกันทุกกลุ่ม
(Assessment Teachers) : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ในการเรียนอาจารย์จะคอยเสริมความรู้ให้นักศึกษาอยู่ตลอดเวลาวันนี้มีการจัดกิจกรรมกลุ่มโดยให้นักศึกษาทำวาฟเฟิลอาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาครบทุกกลุ่มเป็นการเรียนที่สนุกมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น