วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วัน/เดือน/ปี  13  พฤศจิกายน  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)
วันนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อนที่ออกมานำเสนอสรุปงานวิจัยออกมาได้ดังนี้
งานวิจัยเรื่องที่ 1 การส่งเริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัย  นางสาวจุฬารัตน์ วรรณศรียพงษ์
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการสังเกตสิ่งต่างๆที่ดีขึ้นและสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม เพราะเด็กปฐมวัยยังขาดทักษะการสังเกต เลยใช้วิจัยในการแก้ปัญหา การสังเกตเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การสังเกต
เครื่องมือที่ใช้   การจับภาพเหมือน เกมจับคู่กับเงา เกมภาพตัดต่อ เกมสังเกต
ผลการวิจัย   เด็กมีทักษะการสังเกตที่ดีขึ้น

งานวิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการฟังนิทาน
ผู้วิจัย   ศศิพรรณ  สำแดงเดช
วัตถุประสงค์  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รีบการจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเด็กก่อนทำและหลังทำกิจกรรมต้องการส่งเสริมการเล่านิทาน เป็นความสำคัญในการส่งเสริมการฟังนิทาน สื่อสารด้วยการใช้การสนทนา เครื่องมือที่ใช้ก็จะมี แผน แบบทดสอบ เป็นการส่งเสริมทุกด้านของเด็ก
ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การสังเกตการจำแนก การสื่อสาร
เครื่องมือที่ใช้   แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานและกิจกรรมการทดลอง
ผลการวิจัย   เด็กมีทักษะการสังเกตการณ์จำแนกและการสื่อสารที่ดีขึ้นมาก

งานวิจัยเรื่องที่ 3 การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย   ชยุดา  วยุพงษ์
วัตถุประสงค์   เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาผลของทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย รูปแบบจะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย1.ให้อิสระแก่เด็ก 2.พาเด็กไปศึกษาให้เด็กเจอประสบการณ์ตรง
3.ประเมินผลงานของเด็ก
ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การสังเกตการจำแนก การพยากรณ์ การวัด การคำนวณ การหามิติสัมพันธ์ การกระทำและการสื่อความหมาย  และการลงความเห็น
เครื่องมือที่ใช้   แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัย   เด็กที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

งานวิจัยเรื่องที่ 4 ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย   ยุพารัตน์  ชูสาย  ดร.สุจินดา  ขจรรุ่งศิลป์  ชูศรี  วงศ์รัตนะ
วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติและหลังการทดลอง
ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การสังเกตการจำแนก การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็น
เครื่องมือที่ใช้   แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติและแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัย   ก่อนการจัดกิจกรรมเด็กมีความรู้ในระดับบปานกลางหลังการจัดกิจกรรมเด็กได้รับความรู้มากขึ้น

งานวิจัยเรื่องที่ 5 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบมุ่งเน้นกระบวนการ
ผู้วิจัย  ชนกพร  ธีระกุล
วัตถุประสงค์   เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การสังเกตการจำแนก การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็น การแสดงปริมาณ
เครื่องมือที่ใช้   แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการผู้วิจัยสร้างขึ้น 40 แผน
ผลการวิจัย    เน้นกระบวนการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติทุกขั้นตอนเองโดยเด็กจะได้ลงมือทำด้วยตนเองโดยให้เด็กปฏิบัติเองด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

วิจัยเรื่องที่  6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย   เสกสรร  มาตรวัดแสง
วัตถุประสงค์   เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การจำแนก การบอกรายละเอียด ความเหมือน-ต่าง
เครื่องมือที่ใช้   แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
 ผลการวิจัย   เด็กมีการคิดวิจารณญาณทั้งภาพรวมและรายด้านสูงกว่าเด็กปกติ

 วิจัยเรื่องที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย   นางสายทิพย์  ศรีแก้วทุม
วัตถุประสงค์   เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การจำแนก การจัดประเภท
 เครื่องมือที่ใช้   แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล
 ผลการวิจัย   เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับแบบปกติหลังการจัดกิจกรรมมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.5

เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
-  เทคนิคโดยการให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
- สรุปวามรู้ด้วยนเองเป็น
- รู้ักการนำเสนอ
- การสอนโดยการใช้คำถามให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหาวิเคราะห์

การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): เข้าเรียนตรงต่อเวลา ฟังและจดบันทึกข้อความรู้จากที่เพื่อนสรุปงานวิจัยได้ดีฟังคำแนะนำที่ครูบอกเพื่อนเพื่อนนำมาปรับปรุงและพัฒนาตนเองในครั้งต่อไป
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียน และนำเสนอการสอนได้ดีและตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์และนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี
อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอผลงานวิจัย และเมื่อฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัยแล้วอาจารย์จะมีคำถามถามนักศึกษาว่าวิจัยชื่ออะไรและมีอะไรบ้างในวิจัยที่เพื่อนนำเสนอเพื่อเป็นการทบทวนและถามความเข้าใจว่าของนักศึกษาเข้าใจในงานวิจัยมากน้อยเพียงใดและผู้เรียนจะเกิดทักษะอย่างไรในวิจัยแต่ละเรื่อง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น