วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วัน/เดือน/ปี  พฤศจิกายน  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)
         วันนี้นำเสนอแผนการสอนเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยจะให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามหน่วยของตนเอง ยกตัวอย่างมากลุ่มละ 1 วัน  

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย(banana)    สอนในเรื่อง ชนิดของกล้วย
ขั้นนำ
- นำด้วยเพลง กล้วยหวานหวานมีหลากหลายนานา ใครบอกครูได้หนา ว่ามีกล้วยอะไร
- ให้เด็กร่วมตอบคำถามจากเพลงเชื่อมโยงความรู้เดิมของเด็กด้วย
ขั้นสอน  
- นำภาพกล้วยมาให้เด็กดูแล้วถามว่ากล้วยที่เห็นเป็นกล้วยชนิดไหนให้เด็กยกมือตอบ
- ถามเด็กว่าวันนี้เรามีกล้วยกี่หวีถ้าเด็กยกมือตอบให้เด็กนำเลขฮินดูอารบิกที่อยู่บนโต๊ะมาแปะเอาไว้
ขั้นสรุป
เด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้างกล้วยทั้งหมดมีกี่หวี

กลุ่มที่ 2 หน่วยไก่(chicken)   สอนในเรื่อง ลักษณะของไก่
ขั้นนำ  
- นำรูปไก่ลักษณะต่างๆมาให้เด็กดู
- ไก่ที่เห็นมีสีอะไรบ้าง มีขนาดที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ขั้นสอน 
มีภาพไก่แจ้ กับไก่ตอกมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่าภาพสองภาพเหมือนกันอย่างไร  
- ภาพสองภาพต่างกันอย่างไร 
- มีวงกลม แสดงความเหมือน ต่าง และความสัมพันธ์ของไก่ทั้งสองชนิด
ขั้นสรุป
เด็กสรุปความเหมือน ต่างของไก่ทั้งสองชนิด

กลุ่มที่ 3 หน่วยกบ(frog)   สอนในเรื่องวัฏจักรของกบ
ขั้นนำ 
- เปิดวิดีโอ วงจรชีวิตของกบ การดำรงชีวิตของกบ และกบจำศีลให้เด็กดู
- เมื่อดูวีดีโอจบครูถามเด็กเพื่อทบทวนความรู้จากวีดีโอที่ได้ดูเด็กจำอะไรได้บ้างในวีดีโอ
ขั้นสอน  
- ครูถามเด็กว่า กบมีสีอะไรบ้าง  
- อาศัยอยู่ที่ไหน
- กบจำศีลเมื่อไหร่  
ขั้นสรุป
ครูสรุปวัฏจักรของกบร่วมกับเด็ก

กลุ่มที่ 4  หน่วยปลา(fish)   สอนในเรื่อง ประโยชน์ของปลาและข้อพึงระวังของปลา
กลุ่มของดิฉันสอนใน หน่วยปลา เรื่อง  ประโยชน์ของปลาและข้อพึงระวังของปลา
โดยการส่งตัวแทนเพื่อนออกไปนำเสนอ มีเทคนิคการการสอน ดังนี้
ขั้นนำ
เป็นการเล่านิทานเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลาให้เด็กฟัง แล้วถามเด็กว่า จากนิทาน ปลามีประโยชน์อะไรบ้าง
ขั้นสอน 
นำตารางมาเปรียบเทียบ ประโยชน์ และข้องพึงระวังของปลา แล้วถามเด็กว่า นอกเหนือจากประโยชน์และข้อจำกัดของปลาในนิทานแล้ว เด็กรู้จักอะไรอีกบ้าง แล้วเขียนใส่กระดาษ แล้วนำไปแปะไว้ที่ตารางเปรียบเทียบ
ขั้นสรุป  
สรุปถึงประโยชน์และการรับประทานอาหารที่ทำจากปลา
สรุปถึงข้อพึงระวังและการเลี้ยงดูปลา

กลุ่มที่ 5 หน่วยข้าว(rice)   สอนในเรื่อง การทำอาหารทำ ทาโกยากิ จากข้าว
ขั้นนำ  
- ครูมีอุปกรณ์ต่างๆวางอยู่บนโต๊ะ
- ถามเด็กว่านี่คืออะไร  
- ให้เด็กลองทายว่าครูจะทำอะไร แล้วนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน 
- ครูสาธิตการทำอาหารให้เด็กดู
- ขอตัวแทนเด็กมาช่วยครูทำ
- ให้เด็กทำหรือช่วยเตรียมอุปกรณ์ง่ายๆ แล้วนำเข้าเตา ให้เด็กสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลง
ขั้นสรุป 
- สรุปถึงประโยชน์ของข้าวว่านอกจากกินสุกแล้ว สามารถนำมาประกอบอาหารอย่างอื่นได้และสามารถปรุงรถชาติให้อร่อยได้

กลุ่มที่ 6  หน่วยต้นไม้(tree)   สอนในเรื่อง ชนิดของต้นไม้
ขั้นนำ 
ครูท่องกลอนหรือคำคล้องจอง เกี่ยวกับชนิดของข้าว
- ถามเด็กว่า จากคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรบ้าง
ขั้นสอน 
- ครูถามเด็กว่านอกจากต้นไม้ที่กล่าวมาเด็กรู้จักต้นไม้อะไรบ้าง  
- ครูก็นำแผ่นภาพมาให้เด็กดู
ขั้นสรุป
-การจำแนกต้นเข็มและต้นไม้ชนิดอื่น
-การนับจำนวน และการบอกค่า มาก น้อย

กลุ่มที่ 7 หน่วยนม(mile)   สอนในเรื่อง ลักษณะของนม
ขั้นนำ 
- ครูร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำการทดลองให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่ามีอะไรวางอยู่บนโต๊ะ
ขั้นสอน
 - ทำการทดลอง – หยดน้ำยาล้างจานลงไปในนมและสีผสมอาหาร
- ผลการทดลอง น้ำยาล้างจานกับนม เกิดฟอง นมเปลี่ยนสีตามสีผสมอาหาร
- การนำตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่านมที่ได้จากสัตว์และพืช
ขั้นสรุป 
นมที่ได้จากพืช มีไขมันมากกว่า นมที่ได้จากสัตว์

กลุ่มที่ 8 หน่วยน้ำ(water)    สอนในเรื่อง การอนุรักษ์น้ำ
ขั้นนำ 
- ครูร้องเพลง อย่าทิ้ง ครั้งแรกครูร้องให้เด็กฟัง แล้วครั้งต่อ ให้เด็กร้องร่วมกันกับครู
 ขั้นสอน
- ครูเล่านิทานให้เด็กฟัง ในนิทาน กล่าวถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ การอนุรักษ์น้ำ  
- ครูจัดกิจกรรมศิลปะให้เด็กได้ทำโดยกำหนดว่าในศิลปะที่ทำต้องช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ การอนุรักษ์น้ำ  
ขั้นสรุป 
สรุปถึงการดูแลอนุรักษ์แม่น้ำให้เด็กฟัง

กลุ่มที่ 9  หน่วยมะพร้าว(Coconut)   สอนในเรื่อง การปลูกมะพร้าว
ขั้นนำ  
- ครูร้องเพลงเกี่ยวกับมะพร้าว
- เล่านิทานการปลูกมะพร้าวให้เด็กฟังแล้วถามเด็กว่า มะพร้าวในนิทาน ปลูกอย่างไร
ขั้นสอน 
- ครูบอกถึงการปลูกต้มมะพร้าว และขั้นตอนสำหรับการปลูกมะพร้าวให้เด็กฟัง
- นำแผ่นภาพมาให้เด็กเรียงลำดับขั้นตอนของการปลูกมะพร้าว
ขั้นสรุป 
สรุปถึงการเลือกดินสำหรับการปลูกต้นมะพร้าว และการดูแลรักษา

กลุ่มที่ 10  หน่วยผลไม้(fruit)    สอนในเรื่อง การทำผลไม้ผัดเนย
ขั้นนำ 
- นำเด็กด้วยการร้องเพลง ผลไม้
- ถามเด็กว่า เด็กรู้จักผลไม้อะไรบ้าง แล้วให้เด็กยกมือตอบคำถาม
ขั้นสอน  
- ครูเตรียมอุปกรณ์ และส่วนผสมต่างๆมาแล้ว
- ครูขอตัวแทนเด็กมาช่วยในการทำ ขณะทำก็กล่าวถึงขั้นตอนในการทำให้เด็กฟังด้วย
- ให้เด็กสังเกตการณ์เปลียนแปลงของผลไม้เมื่อผสมกับเนยที่อยู่ในกระทะร้อน
ขั้นสรุป
กล่าวถึงผลไม้ นอกจากจะทานผลดิบ หรือผลสุกแล้ว สามารถนำมาปรุงรสชาติก็ได้


เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
  1.  ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์
  2การใช้คำถามเพื่อไปกระตุ้นความคิดของเด็กให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  3.  เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิดในการสอนครูให้คำแนะนำในแต่ละกลุ่มให้เห็นชัดเจนในการทดลองหรือการสอนของเพื่อน
   4.  การให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไปสู่วิทยาศาสตร์


การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
 - สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการสอนเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยการให้เด็กได้ตอบคำถามได้สังเกตในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
- การนำสื่อสำหรับจัดการเรียนการสอนมาให้เด็กควรเป็นสื่อของจริงเด็กจะได้สัมผัสพื้นผิว ของสื่อนั้นด้วย
- ครูควรจะกระตุ้นให้เด็กสนใจ และมีคำถามที่จะเชื่อมโยงความรู้ให้กับเด็กอยู่เสมอ

การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ มีความสนใจในการเรียนตั้งใจฟังเพื่อนในการนำเสนอการสอนทุกกลุ่มและฟังคำแนะนำในการสอนในวันต่างๆากอาารย์เป็นอย่างดี
เพื่อน(Assessment Friend) : มีเพื่อนมาสายหลายน เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียน และนำเสนอการสอนได้ดีและตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์และนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี
อาจารย์ (Assessment Teachers) : ครูให้คำแนะนำนักศกษาในการสอนให้เทนิการสอนในรูปแบบ่างที่น่าสนใ ครูใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและน่าสนใจและหาการเรียนการสอนที่หลากหลายมาสอน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น