วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วัน/เดือน/ปี  30  ตุลาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


  ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)
วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรมการทดลองด้วยกัน

การทดลองที่ 1 ดินน้ำมัน จม ลอย
  อุปกรณ์ (equipment)
- ดินน้ำมัน (clay)
- โหลใสน้ำ
- น้ำ


วิธีการเล่น
อาจารย์ให้นักศึกษาปั่นดินน้ำมันให้เป็นวงกลมเมื่อปั่นดินน้ำมันเป็นวงกลมแล้วก็ให้แต่ละแถวเอาดินน้ำมันของตัวเองออกไปวางลงในโหลใสที่มีน้ำอยู่แล้วให้ทุกคนสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นกับดินน้ำมันและน้ำ ผลปรากฏว่าดินน้ำมันจมน้ำเพราะดินน้ำมันมีมวลที่หนักไม่สามารถลอยน้ำได้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาช่วยกันคิดหาวิธีทำให้ดินน้ำมันไม่จมแล้วให้แต่ละคนปั่นดินน้ำมันของตัวเองเพื่อที่จะทำให้ดินน้ำมันของตัวเองไม่จมแล้วให้ออกไปวางดินน้ำมันลงน้ำอีกครั้ง ปรากฏว่าบ้างคนก็จมบ้างคนก็ไม่จมแต่ของดิฉันไม่จม สาเหตุที่ดินน้ำมันจมมีหลายสาเหตุ เช่น น้ำหนักของดินน้ำมันที่ปั่นแต่ละข้างไม่เท่ากัน , ดินน้ำมันมีรูปร่างที่แบนมากเกินไป , ขนาดของดินน้ำมันไม่มีความสมดุลกัน เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้ดินน้ำมันไม่จมน้ำ เพราะการปั่นดินน้ำมันให้มีขอบขึ้นด้านข้างและมีความสมดุลกันดินน้ำมันจะสามารถลอยน้ำได้เนื่องจากอากาศจะเข้าไปอยู่ตรงกลางของดินน้ำมันจึงทำให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ดังรูป

การทดลองที่ 2 ดอกไม้หลากสี
อุปกรณ์ (equipment)
-          กระดาษ  (paper) 
-          สี (color)
-          กรรไกร (scissors)

วิธีการเล่น
1.ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้ที่ต้องการและระบายสีให้สวยงาม
2.พับกลีบดอกลงมาตรงกลางโดยไม่ต้องพับจนหัก
3.นำดอกไม้ที่ทำไปลอยในน้ำและสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
ผลปรากฏว่า กระดาษลอยและเคลื่อนไหวตามแรงลม น้ำซึมซับเข้าไปในเนื้อเยื่อของกระดาษตามคุณสมบัติของน้ำ ทำให้กระดาษคลายตัวออกดูคลายกับดอกไม้ที่กำลังผลิบาน บางดอกมีสีละลายออกมาทีละนิดเมื่อกระดาษเปียกน้ำจนหมดแล้วจะค่อยๆจมลงในการทดลองต้องใช้กระดาษหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เด็กได้สังเกตได้อย่างหลากหลาย ดังรูป


การทดลองที่ 3 การไหลของน้ำ
  อุปกรณ์ (equipment) 
-          ขวด (flask)
-          น้ำ (water)
-          กรวย
  วิธีการเล่น
1.      นำขวดน้ำที่เตรียมไว้มาเจาะรู 3 ระดับ คือ บน,กลาง,ล่าง และนำเทปกาวปิดรูทั้ง 3 ไว้นำน้ำมาใส่ให้เต็มและปิดฝาขวดให้สนิทเราจะมาดูกันว่ารูไหนน้ำจะออกมาได้ไกลที่สุด
2.      เมื่อเปิดรูบนสุดปรากฏว่า น้ำไม่ไหล เพราะไม่มีแรงดันอากาศ เมื่อเปิดฝาขวดน้ำออกแรงดันอากาศจึงทำให้น้ำไหลออกมาเล็กน้อยแต่ไม่แรงมากนัก
3.      เปิดรูกลางปรากฏว่า น้ำไหลแรงกว่ารูบนสุดแต่ไม่ไกลมากนักแม้ปิดฝาขวดน้ำน้ำก็ยังไหลเพราะมีแรงดันอากาศอยู่ในขวดจากรูปที่ 1 ที่เปิดออกและแรงอากาศจากการเปิดฝา
4.      เปิดรูล่างสุด ผลปรากฏว่า น้ำไหลไกลสุดเพราะมีแรงดันอากาศมากที่สุด
จากการทดลองสรุปได้ว่า การที่น้ำไหลออกจากขวดได้มากสุดนั้นเป็นผลมาจากแรงดันในอากาศที่มีเพิ่มมากขึ้นทำให้น้ำไหลได้แรงและเร็วมากขึ้น


การทดลองที่ 4   สูง ต่ำ
อุปกรณ์ (equipment) 
-          ขวด ((flask)
-          น้ำพุ
-          กรวย

 วิธีการเล่น
การทดลองจากการที่เทน้ำลงไปในขวดและวางน้ำพุอยู่ในระดับสูงกว่าขวดน้ำปรากฏว่า น้ำไม่ไหลและได้ทดลองโดยการวางขวดน้ำไว้ในระดับที่สูงกว่าน้ำพุ ปรากฏว่า น้ำไหลเล็กน้อยแต่ไม่สูงมากวางขวดน้ำไว้ในระดับที่สูงกว่าน้ำพุมากกว่าเดิมอีกเท่าตัวปรากฏว่า น้ำไหลสูงมาก
จากการทดลองสรุปได้ว่า น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแล้วมีแรงดันออกมาเป็นน้ำพุ ดังรูป

การทดลองที่ 5 เทียนส่องแสง

อุปกรณ์ (equipment) 
-          เทียน (candle)
-          ไม้ขีดไฟ (match)
-          แก้ว (glass)
-          จาน (dish)
-          น้ำ


วิธีเล่น
1. จุดเทียนแล้วนำแก้วน้ำมาครอบเทียน ผลปรากฏว่า เทียนค่อยๆดับลงเพราะว่าไม่มีอากาศเข้าไปข้างในทำให้ไฟดับ
2. จุดเทียนอีกครั้งแล้วนำแก้วมาครอบอีกตามเคยจากนั้นก็เทน้ำใส่ตรงจาน ผลปรากฏว่า น้ำที่อยู่ในจานดานนอกเทียนถูกดูดเข้าไปอยู่ในแก้วกับเทียนจนเทียนดับไปอีกตามเคยเพราะไม่มีอากาศจากการทดลองสรุปได้ว่า การที่น้ำสามารถซึมเข้าไปในแก้วที่ครอบเทียนได้เนื่องจากเกิดการแทนที่เกิดขึ้น

การทดลองที่ 6 มุมมอง


อุปกรณ์ (equipment) 
-          แก้ว (glass)
-          ปากกา (pen)
-          น้ำ (water)

วิธีเล่น
เทน้ำลงใส่แก้วแล้วนำปากกาวางลงในแก้วแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปากา  ผลปรากฏว่า   มองจากบนลงล่างเห็นเหมือนปากกาหัก เพราะการหักเหของแสงจากรอยตัดของระดับน้ำทำให้สายตามองออกมาได้หลายรูปแบบวัตถุจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจากเดิม



เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
- ใช้สื่อในการในการสอน เช่น น้ำ ขวดน้ำ กรวย โหลเลี้ยงปลา ดินน้ำมัน กระดาษ เป็นต้น
- การสอนโดยการทดลองให้นักศึกษาได้ทำการทดลองด้วยตัวเองทำให้เข้าใจได้มากขึ้น
- การถามคำถามปลายเปิด
- ให้นักศึกษาได้ทักษะการคิดวิเคราะห์เนื้อหาเชื่อมโยงเนื้อหาในการทดลอง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้(Applied)
            สามารถนำการทดลองแต่ละการทดลองไปใช้สอนเด็กในอนาคตได้สอนให้เด็กได้รู้จักการทดลองในเรื่องของวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้รู้จักการสังเกตและนอกจากจะสอนตามที่อาจารย์นำมาทดลองให้ดูเป็นตัวอย่างและยังสามารถนำไปเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะทำการทดลองอื่นๆได้อีกหลายการทดลองและยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆได้อีกหลากหลายวิชา

การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self) : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดตั้งใจดูการทดลองที่อาจารย์พาทดลองในห้องอย่างตั้งใจฟังคำแนะนำจากการนำไปประยุกต์ของอาจารย์
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนไม่คุยกันเสียงดังให้ความร่วมมือในการทำการทดลองที่หลากหลายและแต่งกายเหมาะสมมีความตั้งใจรับความรู้จากอาจารย์เป็นอย่างมาก
อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลามีกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายมาให้นักศึกษาได้ทำการทดลองและใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดตลอดเวลา







บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วัน/เดือน/ปี  18  ตุลาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


  ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์นัดสอนชดเชยวันพฤหัสที่ 23 ตุลาคมเนื่องจากเป็นวันหยุด วันปิยมหาราช”  ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มของดิฉันได้ทำหน่วยเรื่องปลาซึ่งไดแบ่งแผนการสอนดังนี้……
วันที่ 1 สอนเรื่องชนิดของปลา
วันที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของปลา
วันที่ 3 สอนเรื่องการดำรงชีวิตของปลา
วันที่ 4 สอนเรื่องประโยชน์และข้อจำกัด
วันที่ 5 สอนเรื่องการประกอบอาหาร
ดิฉันได้รับหน้าที่สอนเรื่อง การดำรงชีวิตของปลา

 หน่วยเรื่อง ปลา (Fish)




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้(Applied)
- การเรียนวันนี้สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนเขียนแผนสามารถนำไปปรับเปลี่ยนในการเขียนแผนของตัวเองให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคตได้
- การนำแผนไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
- ในการเขียนแผนควรคำนึงถึงเทคนิคที่เราจะใช้ในการสอน
- สามารถเขียนแผนของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถสอนเด็กได้จริง


เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
- อาจารย์ให้คำแนะนำและบอกเทคนิคการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์โดยการสอนไปทีละขั้นตอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

- มีการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กตื่นตัวอยู่เสมอเพราะเรียนเช้ามักทำให้เด็กง่วงนอนอาจารย์ก็จะโยนคำถามปลายเปิดมาให้เด็กช่วยกันคิดอยู่เป็นช่วงๆ


การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): ตั้งใจฟังคำแนะนำในการเขียนแผนการสอนของอาจารย์พอฟังไปนานๆก็เริ่มง่วงนอนจึงออกไปเข้าห้องน้ำแล้วก็มาฟังใหม่
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์กันทุกคนไม่คุยกันเสียงดังมากเกินไปแต่พอฟังไปนานๆก็เริ่มมีคนง่วงแอบหลับแต่พออาจารย์พูดขึ้นก็ตื่นแล้วก็ฟังต่อทุกคนแต่งกายเหมาะสมมีความตั้งใจในการรับความรู้จากอาจารย์เป็นอย่างมาก
 อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนการสอนนักศึกษาเป็นอย่างดีมีการสอนอย่างเป็นระบบทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจในการเรียนมากขึ้นสอนให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ในการเรียนมากขึ้นแต่เนื่องจากมาเรียนเช้าเวลาอาจารย์พูดเสียงเบาๆก็ทำให้นักศึกษาหลายคนง่วงนอน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วัน/เดือน/ปี  16  ตุลาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


  ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์

สื่อของดิฉันชื่อ  นาฬิกาหรรษา
วัสดุ/อุปกรณ์ (Materials)
ขั้นตอนการทำ(steps)
วิธีการเล่น (How to play)
สรุป(Summary) ความรู้ที่จะได้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จากสื่อนาฬิกาหรรษา

  สื่อของเพื่อนๆ                                                                                                                                                                                                                                                                       ลูกข่างหลากสี , รถแข่ง , แท่งยิงลูกบอลจากไอติม , เครื่องล่อนวงแหวน , หนังสติ๊กหรรษา , หลอดเสียงสูงต่ำ , โทรศัพท์จากแก้วพลาสติก , ลานหรรษา ,แม่เหล็กตกปลา , เชียร์ลีดเดอร์ , ไก่กระตุ๊ก , กล้องส่องทางไกล , ลูกข่างหรรษาขวดผิวปาก , กล่องลูกโป่ง , นาฬิกาน้ำ , กระป๋องโยกเยก , หลอดหมุนได้ ,  เสียงโป๊ะ , ดินสอกังหันลม , ตุ๊กตาล้มลุก , ปืนลูกโป่ง ,  หลอดปั๊มน้ำ , ลุกปิงปองหมุน , หนูน้อยกระโดดร่ม , ไหมพรหมเต้นระบำ ,  เรือลอยน้ำ , ขวดหนังสติ๊ก , เหวี่ยงมหาสนุก ,  รถพลังลม , คลื่นทะเลในขวด