วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วัน/เดือน/ปี 25 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


ความรู้ที่ได้รับ


         วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการทำกิจกรรม คืออาจารย์จะแจกกระดาษสีและคลิปหนีบกระดาษมาให้แต่ยังไม่บอกว่าจะให้ทำอะไรจากนั้นก็เริ่มทำตามที่อาจารย์บอก

โดยแต่ละแถวจะไม่เหมือนกันแถวของดิฉันทำออกมาแล้วได้ ดังรูปภาพนี้


ชื่อสื่อ กังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill)

ขั้นตอนการทำ

1.      ตัดกระดาให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า


2.      พับครึ่งกระดาษ

3.      ตัดกระดาษระหว่างกลาง ตัดขึ้นมาจนถึงเส้นกลางที่พับครึ่งกระดาษไว้

4.      พับชายกระดาษฝั่งตรงข้ามแล้วใช้คลิปหนีบไว้

5.      ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ
ก็จะได้ กังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill) ที่สวยงามแบบนี้

วิธีเล่น
ให้นำเจ้ากังหันที่ทำเสร็จแล้วมาโยน โยนแบบไหนก็ได้แล้วสังเกตดูการหมุนของกังหันว่ามีการหมุนลงแบบใด

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
- ได้รู้จักการฝึกการสังเกต (Observe) 
- ได้รู้จักเรื่องแรงโน้มถ่วง (Gravity)
- ได้รู้จักเรื่องแรงต้านทาน (Tension resistance)
- ได้รู้จักเรื่องแรงหมุน แรงเหวี่ยง (Strong rotation,Centrifugal)
- ได้รู้จักการคาดการ (Predict)

             เมื่อทำกิจกรรมเสร็จจากนั้นก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อนและดิฉันได้ สรุปความรู้ที่ได้รับจากบทความเพื่อนออกมาได้  ดังนี้




          เพื่อนนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มส่งแผนการสอนที่ได้มอบหมายให้ทำโดยการให้ทำเป็น Mind mapping ส่ง ทุกกลุ่มได้เอาผลงานมาให้อาจารย์ได้ดูว่าทำกันถูกหรือไม่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำกับทุกกลุ่ม 
ผลงานของแต่ละกลุ่ม










และ ผลงานของกลุ่มดิฉัน  สอนเรื่องหน่วย ปลา


เมื่ออาจารย์ได้ดูก็ได้ให้คำแนะนำากนั้นกลุ่มของดิฉันก็ได้นำเอาคำแนะนำมาปรับปรุงในการทำแผนใหม่และทำออกมาได้ ดังนี้



การนำไปใช้ (Applied)
- จากการทำกิจกรรมการพับกังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill) สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะวิธีทำไม่ซับซ้อน
- จากการทำกิจกรรมสามารถนำไปสอนเด็กเรียนรู้เรื่องของแรงโน้มถ่วง แรงต้านทาน แรงหมุน แรงเหวี่ยง ฝึกการสังเกตของเด็กให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

- จากการทำกิจกรรมสามารถนำไปเล่นเป็นเกมการศึกษาให้กับเด็กได้

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
           สอนโดยการถามตอบเพื่อให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ในสิ่งที่เรียนและเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการอยากรู้อยากเรียน มีการใช้คำถามซ้ำๆ เพื่อให้นักศึกษาจำได้ และให้คำแนะนำในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ


การประเมินหลังเรียน  (Assessment)
ประเมินตนเอง (Assessment Self) : เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและโต้ตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตนเองพอที่จะทราบให้ความร่วมมือเพื่อนในการฟังและตอบคำถามช่วยเพื่อน
ประเมินเพื่อน (Assessment Friend) เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการเรียนดีอาจมีคนที่คุยกันบ้างแต่ก็ตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถามเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ (Assessment Teachers)อาจารย์มีวิธีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาโดยการใช้คำถามและถามคำถามซ้ำๆกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเกิดการจำมากขึ้นแต่ละคำถามจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และตอบคำถามด้วยความเข้าใจของนักศึกษาจริงๆ และให้คำแนะนำในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น