วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วัน/เดือน/ปี  9ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.




วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค



วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วัน/เดือน/ปี 2 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมแกนกระดาษทิชชูมาตอนแรกก็สงสัยว่าให้เอามาทำไมแต่ก็เอามาตามที่อาจารย์สั่ง พอเข้ามาในห้องสักพักอาจารย์ก็เข้ามาในห้องแล้วเริ่มทำกิจกรรมก่อนเรียนกิจกรรมที่ทำ คือ ทำสื่อจากแกนกระดาษทิชชูที่นำมาโดยมีขั้นตอนการทำ ดังนี้

วัสดุ/อุปกรณ์ (Equipment)
1. แกนกระดาษทิชชู

2. กระดาษ (Paper)
3. ไหมพรม (Yarn)
4. กาว (Glue) 
5. กรรไกร (Scissros)
6. ตุ๊ดตู่ (ที่เจาะกระดาษ)


ขั้นตอนการทำ (Step)

1. ตัดแกนกระดาษทิชชูออกครึ่งหนึ่ง

2. นำที่เจาะกระดาษมาเจาะแกนกระดาษทิชชูทั้งสองด้าน

3. วาดวงกลมเท่าแกนทิชชู จากนั้นวาดรูปและตกแต่งให้สวยงาม

4.ตัดไหมพรมยาวพอประมาณใช้เชือกไหมพรหมร้อยตรงที่เจาะรูไว้และมัดตรงปลายไหมพรมนำรูปมาติดกาวตกแต่งแกนทิชชู



วิธีการเล่น (play)

- นำเชือกไหมพรมที่ทำเสร็จแล้วมาคล้องคอจากนั้นใช้มือทั้งสองข้างจับเชือกตรงปลายไว้สลับมือซ้ายขวา ขึ้นไปมา


เมื่อทำสื่อจากแกนทิชชูเสร็จก็เป็นการนำเสนอบทความวันนี้ดิฉันเป็นคนนำเสนอคนแรกบทความที่นำเสนอวันนี้มีการนำเสนอ 5 บทความด้วยกัน คือ
บทความที่ 1 สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์ เรื่อง “ เป็ด กับ ไก่ ”
บทความที่ 2 จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ
บทความที่  3 ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
บทความที่ 4 สอนเรื่องปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
บทความที่ 5 การสอนลูกเรื่อง อากาศ
สรุปความรู้ที่ได้รับจากบทความ



การนำความรู้ไปใช้ (Applied)
จากการทำกิจกรรมทำสื่อจากแกนทิชชู สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะมีวิธีทำที่ง่ายไม่ซับซ้อน
จากการทำกิจกรรมสามารถนำสื่อที่ทำไปจัดเป็นเกมการศึกษาให้เด็กเล่นได้
จากบทความสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
           สอนโดยการถามตอบเพื่อให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ในสิ่งที่เรียนและเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการอยากรู้อยากเรียน มีการใช้คำถามซ้ำๆ เพื่อให้นักศึกษาจำได้ และให้คำแนะนำในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจมีวิธีการทำสื่อที่ง่ายๆมาให้นักศึกษาได้ทำด้วยตนเอง

การประเมินหลังเรียน  (Assessment)
ประเมินตนเอง (Assessment Self) : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจนำเสนอบทความที่นำมาและฟังเมื่ออาจารย์ให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมและโต้ตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตนเองพอที่จะทราบให้ความร่วมมือเพื่อนในการฟังและตอบคำถามช่วยเพื่อน
ประเมินเพื่อน (Assessment Friend) เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำสื่อที่อาจารย์พาทำเป็นอย่างดีและให้ความร่วมมือในการเรียนดีอาจมีคนที่คุยกันบ้างแต่ก็ตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถามเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ (Assessment Teachers) : วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความที่ดิฉันและเพื่อนออกไปนำเสนออาจารย์อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่ายมากขึ้นมีวิธีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาโดยการใช้คำถามและถามคำถามซ้ำๆกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเกิดการจำมากขึ้นแต่ละคำถามจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และตอบคำถามด้วยความเข้าใจของนักศึกษาจริงๆ และให้คำแนะนำในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ




สรุป ความรู้ที่ได้รับจากการดูวีดีโอ ความลับของแสง



วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุป
บทความเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ดและ ไก่
 โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา เรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ผ่านเป็ด

       สสวท.- ครูปฐมวัยสอนนักเรียนอนุบาลเรียนรู้วิทย์จาก เป็ดและ ไก่เริ่มจากเล่านิทานก่อน แล้วเอาลูกเจี๊ยบกับลูกเป็ดมาให้สังเกตลักษณะกันใกล้ๆ พร้อมตั้งคำถามเชิงวิทยาสาสตร์ให้สืบค้น และพาทัวฟาร์มเป็ด-ไก่ของ อบต.ก่อนให้นำเสนอผ่านรูปภาพ 
       นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ที่ครูลำพรรณี มืดขุนทด และ ครูไพรวัลย์ ภิญโญทรัพย์ ครูผู้ช่วย ทั้งสองสอนอยู่นั้นมีเด็กๆ ที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเด็กยากจนด้อยโอกาสจึงได้รับไข่จาก อบต.นาเพียง วันละ 2 ฟองต่อคน ต่อเนื่องกันนาน 3 เดือน เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว ฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดของ อบต.นาเพียง นั้นอยู่อยู่ใกล้โรงเรียนนิดเดียว เดินข้ามรั้วโรงเรียนไปก็ถึง คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่งซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา
       การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น เช่น อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ?”, รู้ได้อย่างไรและบอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด เป็นต้น สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด
       ขั้นสุดท้าย คือ หลังจากให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนำเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคำพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่ และเป็ดอย่างอิสระ แล้วให้เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคำตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ
       กิจกรรมนี้เด็กได้แสดงความรู้สึกด้วยคำพูด เล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้อื่นฟัง สำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกัน




บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วัน/เดือน/ปี 25 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


ความรู้ที่ได้รับ


         วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการทำกิจกรรม คืออาจารย์จะแจกกระดาษสีและคลิปหนีบกระดาษมาให้แต่ยังไม่บอกว่าจะให้ทำอะไรจากนั้นก็เริ่มทำตามที่อาจารย์บอก

โดยแต่ละแถวจะไม่เหมือนกันแถวของดิฉันทำออกมาแล้วได้ ดังรูปภาพนี้


ชื่อสื่อ กังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill)

ขั้นตอนการทำ

1.      ตัดกระดาให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า


2.      พับครึ่งกระดาษ

3.      ตัดกระดาษระหว่างกลาง ตัดขึ้นมาจนถึงเส้นกลางที่พับครึ่งกระดาษไว้

4.      พับชายกระดาษฝั่งตรงข้ามแล้วใช้คลิปหนีบไว้

5.      ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ
ก็จะได้ กังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill) ที่สวยงามแบบนี้

วิธีเล่น
ให้นำเจ้ากังหันที่ทำเสร็จแล้วมาโยน โยนแบบไหนก็ได้แล้วสังเกตดูการหมุนของกังหันว่ามีการหมุนลงแบบใด

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
- ได้รู้จักการฝึกการสังเกต (Observe) 
- ได้รู้จักเรื่องแรงโน้มถ่วง (Gravity)
- ได้รู้จักเรื่องแรงต้านทาน (Tension resistance)
- ได้รู้จักเรื่องแรงหมุน แรงเหวี่ยง (Strong rotation,Centrifugal)
- ได้รู้จักการคาดการ (Predict)

             เมื่อทำกิจกรรมเสร็จจากนั้นก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อนและดิฉันได้ สรุปความรู้ที่ได้รับจากบทความเพื่อนออกมาได้  ดังนี้




          เพื่อนนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มส่งแผนการสอนที่ได้มอบหมายให้ทำโดยการให้ทำเป็น Mind mapping ส่ง ทุกกลุ่มได้เอาผลงานมาให้อาจารย์ได้ดูว่าทำกันถูกหรือไม่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำกับทุกกลุ่ม 
ผลงานของแต่ละกลุ่ม










และ ผลงานของกลุ่มดิฉัน  สอนเรื่องหน่วย ปลา


เมื่ออาจารย์ได้ดูก็ได้ให้คำแนะนำากนั้นกลุ่มของดิฉันก็ได้นำเอาคำแนะนำมาปรับปรุงในการทำแผนใหม่และทำออกมาได้ ดังนี้



การนำไปใช้ (Applied)
- จากการทำกิจกรรมการพับกังหันลมจากกระดาษ (Paper Windmill) สามารถนำไปให้เด็กปฐมวัยทำได้ เพราะวิธีทำไม่ซับซ้อน
- จากการทำกิจกรรมสามารถนำไปสอนเด็กเรียนรู้เรื่องของแรงโน้มถ่วง แรงต้านทาน แรงหมุน แรงเหวี่ยง ฝึกการสังเกตของเด็กให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

- จากการทำกิจกรรมสามารถนำไปเล่นเป็นเกมการศึกษาให้กับเด็กได้

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
           สอนโดยการถามตอบเพื่อให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ในสิ่งที่เรียนและเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการอยากรู้อยากเรียน มีการใช้คำถามซ้ำๆ เพื่อให้นักศึกษาจำได้ และให้คำแนะนำในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ


การประเมินหลังเรียน  (Assessment)
ประเมินตนเอง (Assessment Self) : เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและโต้ตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตนเองพอที่จะทราบให้ความร่วมมือเพื่อนในการฟังและตอบคำถามช่วยเพื่อน
ประเมินเพื่อน (Assessment Friend) เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการเรียนดีอาจมีคนที่คุยกันบ้างแต่ก็ตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถามเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ (Assessment Teachers)อาจารย์มีวิธีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาโดยการใช้คำถามและถามคำถามซ้ำๆกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเกิดการจำมากขึ้นแต่ละคำถามจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และตอบคำถามด้วยความเข้าใจของนักศึกษาจริงๆ และให้คำแนะนำในสิ่งที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ




บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วัน/เดือน/ปี 18 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


ความรู้ที่ได้รับ